เมนู

" ผู้ใด ในศาสนานี้แล รู้ชัดความสิ้นไปแห่งทุกข์
ของตน, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีภาระอันปลงแล้ว ผู้
พรากได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ขันธทุกข์.
บทว่า ปนฺนภารํ เป็นต้น ความว่า เราเรียกผู้มีภาระคือขันธ์อัน
ปลงแล้ว ผู้พรากได้แล้วจากโยคะ 4 หรือสรรพกิเลสนั้นว่า เป็น
พราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา
ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

20. เรื่องพระเขมาภิกษุณี [283]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเขมา
ภิกษุณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " คมฺภีรปญฺญํ " เป็นต้น.

พระเขมาภิกษุณีพบท้าวสักกะ


ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชเสด็จมากับเทวบริษัท
ในระหว่างแห่งปฐมยาม ประทับนั่งสดับธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ระลึกถึงอยู่ ในสำนักพระศาสดา.
ในขณะนั้น พระเขมาภิกษุณีมาด้วยดำริว่า " จักเฝ้าพระศาสดา "
เห็นท้าวสักกะแล้ว ยืนอยู่ในอากาศนั่นเอง ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
ก็กลับไป.
ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเขมานั้นแล้ว ทูลถามว่า " พระ-
เจ้าข้า ภิกษุณีนั่นชื่ออะไร ? มายืนอยู่ในอากาศนั้นเอง ถวายบังคมแล้ว
กลับไป."

ลักษณะแห่งพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา


พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น เป็นธิดาของตถาคต
ชื่อเขมา เป็นผู้มีปัญญามาก ฉลาดในทางและมิใช่ทาง" ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
20. คมฺภีรปญฺญ เมธาวึ มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.